ละลันตาไฟน์อาร์ต นำเสนอ “ปรมาจารย์: หลังตั้งช้าง” โดย วิชิต หนองนวล
La Lanta Fine Art นำเสนอนิทรรศการเดี่ยวชุดพิเศษของ วิชิต นงนวล “The Grandmaster: After Tang Chang”
บทความ: LuxuoTH ภาพ– ละลันตาวิจิตรศิลป์
La Lanta Fine Art ขอเชื้อเชิญคุณมาสัมผัสนิทรรศการเดี่ยวของวิชิต นงนวล ที่มีชื่อว่า “The Grandmaster: After Tang Chang” โดยมีภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ เป็นภัณฑารักษ์ร่วมกันนำเสนอการตีความและสร้างสรรค์ผลงานใหม่บนพื้นฐานของมรดกทางศิลปะของศิลปิน นักเขียนบทกวีและจิตรกรไทยเชื้อสายจีนผู้มีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง จ่าง แซ่ตั้ง ผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งวิชิต นงนวลนั้นหลงใหลและศรัทธาในผลงานของ จ่าง แซ่ตั้ง ตั้งแต่ครั้งยังเป็นนักเรียนเรื่อยมาจนเติบโตเป็นศิลปินอาชีพ
ถังช้างจำลองความทรงจำของถังช้าง
นิทรรศการ “The Grandmaster: After Tang Chang” นี้เป็นเสมือนการสร้างบทสนทนากับศิลปินระดับปรมาจารย์ โดยจำแนกออกมาเป็นสามแนวทางด้วยกัน ได้แก่ แนวทางแรก คือการลอกเลียนแบบผลงานของครูบาอาจารย์ซึ่งนับว่าเป็นวัตรปฏิบัติที่ทำกันเป็นปกติในอดีต โดยสร้างสรรค์จากความทรงจำที่เคยได้สังเกตและสัมผัสผลงานของปรมาจารย์ด้วยตา และการศึกษากระบวนการทำงาน วิถีปฏิบัติ ตลอดจนประเภทของสีและวัสดุที่ใช้ รวมถึงจากการบอกเล่าจากปากของทายาทของจ่างโดยตรง จนปรากฏเป็นผลงานที่ถึงแม้จะไม่เหมือนกับต้นฉบับร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็สามารถดึงอารมณ์ ความรู้สึก และจิตวิญญาณแบบจ่างออกมาได้อย่างครบถ้วน
ภาพเหมือนหลังถังช้างเสี่ยแซ่ถัง (ภรรยาถังช้าง)
แนวทางที่สองเป็นการแสดงให้เห็นถึงรูปแบบและเทคนิคการทำงานอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวิชิต โดยการตีความผลงานชิ้นเอกของจ่างขึ้นมาใหม่จากกระบวนการถักทอขนสัตว์ (Wool) แทนการใช้สีสันบนผืนผ้าใบ ถึงแม้เส้นใยสิ่งทออันนุ่มนวลละมุนละไม ผู้ชมก็ยังคงสัมผัสถึงปณิธานอันแรงกล้าในการประท้วงต่อต้านการล่วงละเมิดและปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนที่จ่างส่งผ่านภาพนี้ออกมาได้อยู่ดี ศิลปินยังใช้กระบวนการเดียวกันนี้ บอกเล่าเรื่องราวของจ่างและครอบครัว สะท้อนสายใยแห่งความผูกพันที่ถักทอร้อยรัดสมาชิกครอบครัวเหล่านี้และสายสัมพันธ์และความรักของเหล่าบรรดาทายาทรุ่นหลังนี่เอง
Tang Assemble No. 1 จานช็อคโกแลตเพลิงไหม้
แนวทางที่สาม คือ การสร้างบทสนทนาด้วยการจำลองรูปกายของจ่างและเหล่าบรรดาทายาทของเขาขึ้นมาใหม่ ในรูปของประติมากรรมสามมิติด้วยเทคนิคการถักทอขนสัตว์ หรือการทำงานเครื่องเคลือบดินเผาด้วยกระบวนการแบบภูมิปัญญาโบราณของญี่ปุ่นในการซ่อมแซมเครื่องปั้นดินเผาคินสึงิ (Kintsugi) สะท้อนวิถีทางและปรัชญาการทำงานของจ่าง ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภูมิปัญญาและปรัชญาแบบตะวันออก นอกจากนี้ วิชิตยังถ่ายทอดความหลงใหลศรัทธาในตัวของ จ่าง แซ่ตั้ง ผ่านผลงานศิลปวัตถุที่กินได้ในรูปของช็อกโกแลตเพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างศิลปะกับผู้ชม ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ตอบโต้กับผลงานศิลปะ นิทรรศการ “The Grandmaster: After Tang Chang” จัดแสดงที่ La Lanta Fine Art ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม ถึง 26 กุมภาพันธ์ ศกนี้ (เวลาเปิดทำการ อังคาร – เสาร์ ตั้งเเต่ 10.00น. – 19.00น.)
ถังช้างพร้อมครอบครัวและลูกศิษย์
บทความที่เกี่ยวข้อง: January Bangkok Gallery Hopping Ideas