Blog

ถอดรหัส A Conversation With The Sun โดยอภิชาติพงศ์ : All You Should Know About

A Conversation With The Sun (VR) คือผลงานล่าสุดของอภิชาติพงศ์ ที่สร้างสรรค์ร่วมกับ ริวอิจิ ซากาโมโตะ คอมโพสเซอร์และนักประพันธ์ชาวญี่ปุ่น และคัตสึยะ ทานิกุจิ ศิลปินชาวญี่ปุ่น โดยนำมาจัดแสดงในงานเทศกาลหนังทดลองกรุงเทพฯ ครั้งที่ 7 ณ One Forum วัน แบงค็อก หลังจากนำไปจัดแสดงมาแล้วหลายที่ ทั้งในงานเทศกาล ไทยแลนด์เบียนนาเล ที่จังหวัดเชียงราย การจัดแสดงที่ประเทศญีปุ่น รวมถึงจัดแสดงในนิทรรศการเดี่ยวที่ซองทร์ ปอมปิดูร์ ในกรุงปารีส เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ชิ้นงาน A Conversation With The Sun ชิ้นนี้ยังเป็นการก้าวข้ามขอบเขตศิลปะดั้งเดิม โดยผสานเทคโนโลยีเสมือนจริงหรือ VR เข้ากับศิลปะการแสดงและภาพเคลื่อนไหว ว่าด้วยการหลับใหล การลืมตาตื่น ความฝัน ความทรงจำ การถือกำเนิด และการแตกดับ และการจัดแสดงที่ผ่านมา ถือเป็นการจัดแสดงครั้งแรกในกรุงเทพฯหลังจากที่เคยจัดในประเทศไทยมาแล้วที่เทศกาลศิลปะอย่าง Chaingrai Biennale โดยได้รับการสนับสนุนจาก Chanel นับเป็นส่วนหนึ่งของความตั้งใจของผลักดันเรื่องศิลปะและวัฒนธรรมในระดับโกลบอลของเมซง

Cr. ชาแนล

เชื่อว่าหลังจากที่ทุกท่านได้ชมชิ้นงาน A Conversation With The Sun นี้ไปแล้วต่างต้องสงสัยถึงความหมายขององค์ประกอบและสิ่งที่อภิชาติพงศ์ต้องการจะสื่อสาร การตีความของงานศิลปะนั้นมันเปิดกว้างและการรับรู้ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หลังจากดูงานชิ้นนี้ บางคนอาจจะร้องไห้จากการนึกถึงเรื่องความตาย การหลับแล้วเพียงฝันไป หรือมันอาจจะดึงความทรงจำในอดีต จนไปถึงเรื่องของอำนาจ อัตตา ตัวตนหรือจนกระทั่งเรื่องของการเมือง

Spoiler Alert บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของตัวผลงาน หากใครยังไม่ได้ชม โปรดข้ามไปก่อนนะคะ

แนะคิดหลักของงานแสดง VR

ผลงาน Conversation With The Sun เริ่มต้นจากในช่วงการแพร่ระบายของโควิดจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติและสิ่งรอบๆตัว ซึ่งนำมาซึ่งความรู้สึกร่วมกันระหว่างคนและธรรมชาติแต่ก็ความโดดเดี่ยวในเวลาเดียวกัน จึงเป็นจุดประกายการทำงานชิ้นดังกล่าวที่ศิลปินอยากจะให้ประสบการณ์และความรู้สึกการเข้าสู่โลกของหวงความฝันที่เสมือนการเคลื่อนไหวอยู่ในสายธารแห่งความรู้สึก การตระหนักว่าตัวเราคือสายน้ำ ที่เปลี่ยนแปลงเสมอ และการปลดปล่อย อีกหนึ่งสิ่งคือการทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพยนตร์ อิสรภาพ และโลกแห่งความจริง

Cr. ชาแนล

การได้ร่วมงานกับศิลปินชาวญี่ปุ่น

“ผลงานนี้เป็นครั้งที่สองที่ผมได้ทำงานร่วมกับ ริวอิจิ ซากาโมโตะ จริงๆเราเจอกันก่อนหน้าโปรจักส์นี้ประมาณ 3-4 ปี ที่โตเกียว ผมเป็นแฟนตัวยงของเขาและพวกเราต่างชื่นชมกันและกัน พอเขาเจอผมแล้ว เขาบอกกับผมว่า’ฉันเป็นแฟนคลับคุณนะครับ‘ แต่ผมเขินๆและบอกเขากลับไปว่า ’ไม่ครับ ฉันเป็นแฟนคลับคุณต่างหาก‘ (หัวเราะ) เขาเป็นเหมือนคนที่สร้างเพลงประกอบภาพยนตร์ตลอดชีวิตที่เราโตขึ้นมา งานชิ้นนี้เลยเป็นเหมือนโปรเจกส์ส่วนตัวมากๆ นอกจากเพื่อนเชียงใหม่บนหน้าจอแล้ว เขาก็คือเพื่อนที่ให้เสียงกับงานนี้ และก็เป็นชิ้นเกือบสุดท้ายของเขาด้วย จริงๆถ้าเราลองฟังเสียงเปียโนที่เขาเล่นดีๆเราจะได้ยินเสียงเขาหายใจดัง ด้วยความเหนื่อยและชรา ในการโชว์ที่ญี่ปุ่นเขาก็มาชมงานของผม มาเพียงเถ้ากระดูก” อภิชาติพงศ์กล่าว

อภิชาติพงศ์เปิดเผยว่าอยากจะนำเสนอคลื่นเสียงและแสงที่เคลื่อนไหวดั่งกระแสของชีวิตเขาใช้เวลาไม่นานในการเฟ้นหาเสียงที่เป็นแกนกลาง ซึ่งเป็นหัวใจของการแสดงชุดนี้ ทานิงจิและซากาโมโตะต่างร่วมแรงร่วมใจเป็นอย่างดีจนงานเริ่มออกมาเป็นรูปเป็นร่างนอกจากนี้ยังได้ทีมงานที่ประเสริฐ

นอกจากนี้เขายังได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างจากทานังจี (ผู้สร้าง VR) และทีมงานของอภิชาติพงศ์ต่างก็ชอบการ์ตูนและแอนิเมชั่นในแนวเดียวกัน กระบวนการทำงานนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ตอนแรกเขาเองมองมันในมุมมองของคนสร้างภาพยนตร์คือคิดเป็น 2 มิติ แบนๆ ว่างรูป อธิบาย และ สตอรี่บอร์ดให้ และมันค่อนข้างที่จะลำบากมาก เพราะทางทีมมักจะมีคำถามเรื่องเกี่ยวกับบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมต่างๆที่ผู้ชมจะเห็น เช่นตรงนี้มันจะเป็นอย่างไร ข้างหลังรูปปั้นนี้มันจะเป็นอย่างไร มันเลยทำให้เขาต้องคิดแบบใหม่ จากกระบวนการคิดแบบภาพยนตร์สู่การละครมากขึ้น มีเวที มีวัตถุต่างๆ แล้วค่อยๆสร้างบรรยากาศรอบๆ แล้วทางทีมกราฟฟิกเองก็จะจินตนาการภาพส่วนใหญ่และสร้างตามคอนเส็ปที่เล่าให้ฟัง อภิชาติพงศ์เสริมว่าจริงๆวางซีนและสถานที่ไว้ในตัวภาพ 3 มิติค่อนข้างเยอะแต่พอตอนที่สร้างภาพขึ้นมา ก็ค่อยๆลดมันไปกว่า 70% จนเหลือแค่เพียง ‘ถ้ำ’

Cr. ชาแนล

เทคโนโลยี VR

ส่วนที่เป็น VR เป็นการแสดงความชื่นชมถ้ำและแสงชนิดต่าง ๆ ทั้งแสงธรรมชาติและแสงอาทิตย์ที่มีบทบาทสำคัญ ต่อการสร้างภาพ เหมือนงานอิมเพรสชั่นนิสม์ในศตวรรษที่ 19 ส่วนที่เป็น VR จะแสดงการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ที่ปกติเราไม่สามารถมองจ้องมันได้ในชีวิตประจำวัน อภิชาติพงศ์กล่าว

ภายในงานเราเห็นร่างของคนที่กำลังนอนหลับในงาน มันชวนให้คิดว่าประสบการณ์เสมือนจริงเชื่อนโยงกันการฝันหรือการนวนหลับอย่างไร ไม่ว่าจะอยู่ในจอหนังหรืออยู่ในฝัน เราไม่สามารถควบคุมอะไรได้มากนัก นอกจากนี้ด้วยความเป็น VR สิ่งที่เห็นตรงหน้าก็ไม่สามารถคว้าหรือสัมผัสอะไรได้เสียสักอย่าง ยิ่งตอกย้ำว่า VR เป็นเหมือนสะพานเชื่อมระหว่างภาวะจิตสองด้าน ด้านที่จริงและไม่จริง มีการตีความและสะท้อนกันระหว่างสองมิตินี้

ตัวแว่น VR เนี่ยมันจะมีเซ็นเซอร์ที่จับว่าคน ผนังที่อยู่ในงานกับเราอยู่ตำแหน่งไหน ยิ่งแสดงหลายๆรอบ ตัวเครื่อง VR มันก็จะยิ่งเรียนรู้ จริงๆแล้วนี้เป็นโชว์แรกๆเลยที่ห้องที่ One Bangkok สนับสนุนมาค่อนข้างใหญ่กว่าครั้งอื่นๆ นอกจากนี้ลายบนพื้นบนพรมเนี่ย ไม่ใช่มีไว้เฉยๆ แต่เป็นฟังชั่น เพื่อให้กล้องจับการทำงานของคลื่นอินฟาเรด ให้ได้ผลลัพธ์งานเป็นลักษณะ VR ที่ไร้เส้นและต้องระบุตำแหน่งให้ผู้ชมไม่ให้ชนกัน แน่นอนว่านี้คือเทคโนโลยีที่เราค่อนข้างทึ่งมาก เพราะไม่เคยมีสูตรมาก่อน และเราได้ทดลองทำมัน ตอนนี้ VR ยังอยู่ในยุคเริ่มต้นจะเห็นได้ชัดว่างานชิ้นนี้เรายังคงรู้สึงถึงเครื่องมือที่เทอะทะและภาพที่ยังดูเหมือนบทปฐมวัย แต่ก็ยังให้ความเป็นส่วนตัวเช่นเดียวกับ”การนอน”ที่เป็นกิจกรรมส่วนตัวในพื้นที่ปิด

Cr. ชาแนล

แสงไฟ และ ดวงอาทิตย์

แสงไฟ และ ดวงอาทิตย์ เป็นตัวสะท้อนความคิดที่ว่าทุกอย่างล้วนเป็นเศษเสี้ยว ไม่ปะติดปะต่อกัน ทุกคนเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็กๆ แต่มารวมตัวกันดั่ง “พิธีกรรมฝันหมู่” ซึ่งเราต่างกลายเป็นดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงให้กันและกัน การชมภาพวิดีโอและ VR จากต่างมุมในพื้นที่จะให้ประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน แต่ละรอบผู้สร้างจะนำเสนอให้ผู้ชมค้นพบอะไรใหม่ๆ เมื่อเดินไปที่ที่ต่างจากเดิม

ถ้ำ

จะเห็นว่าถ้ำปรากฏอยู่ในงานอื่นๆ ของอภิชาติพงศ์ด้วยเช่นกัน มันเปรียบเสมือนบ่อเกิดของความทรงจำ ภาพต่าง ๆ เริ่มต้นขึ้นจากที่นั่นและ ถ้ำ เป็นเสมือนจุดกำเนิดภาพยนตร์เช่นกัน ตั้งแต่มนุษย์เราเขียนภาพในถ้ำ มันคือความพยายามของมนุษย์เราที่อยากจะถ่ายทอดสิ่งที่เราเห็น ต้นไม้ สัตว์ป่าต่างๆ งานชิ้นนี้เลยเหมือนการย้อนกลับไปเคารพรากเหง้าและจุดกำเนิดของภาพยนตร์

Cr. ชาแนล

ภาพยนตร์ที่ฉาย

ความฝันและการหลับใหลเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่อภิชาติพงศ์ที่มักจะเห็นได้หลายๆงานของเขา ภายในงานจะมีโปรจักเตอร์ฉายภาพของคนที่ทั้งตื่นนอนและหลับอยู่ โดยอภิชาติพงศ์อธิบายว่าเขามองตัวเองเป็นมนุษย์ถ้ำคนหนึ่งที่บันทึกเรื่องราวทีได้พบเจอในที่ต่างๆในชีวิต ที่เชียงใหม่ ที่ขอนแก่น กิจกรรมยามเย็นที่แสนธรรมดาของคนรอบข้าง การหลับ การแสดงยุดนี้เป็นการบอกลาแสงของความจริง ก่อนที่เราจะเข้าสู่ห้วงความฝัน

อภิชาติพงศ์ยังเปิดเผยในอีกแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจ นั้นคือปัจจุบันสังคมอาจจะตั้งคำถามกับศิลปะมากจนทำให้ศิลปะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ยาก และสูงเกินไปที่คนทั่วไปจะเข้าถึง แต่จริงๆแล้วส่วนเป็นเรื่องราวของ“คน” สำหรับการแสดงนี้ศิลปินเพียงอยากเปิดพื้นที่ให้คนได้สัมผัสเสี้ยวประสบการณ์การฝันร่วมกัน ที่จะมีความแนบเนียนและสมจริงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต

การตีความของงานศิลปะนั้นมันเปิดกว้างและการรับรู้ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และนี้อาจจะเป็นความสนุกและคุณค่าที่แท้จริงของชิ้นงานเพราะมันสร้างบทสนทนาที่ไม่เพียงแค่กับดวงอาทิตย์แต่ยังทำให้ผู้คนหันมาพูดคุยกันในโลกแห่งความเป็นจริง

Cr. ชาแนล

นอกจากนี้จะเห็นได้งานศิลปะในประเทศไทยมีการให้ความสำคัญมากขึ้น ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้ทั้งโอกาส เงินทุน และสถานที่อย่าง One Bangkok และตึก The Forum ทำหน้าที่เป็นดั่งแคนวาส ในการเปิดโอกาสและจัดแสดงงานรวมถึงงานศิลปะและภาพยนตร์ทดลองในงาน BEFF7 และเป็นที่น่าชื่นชมอย่างยิ่งที่ได้เห็นพื้นที่ที่ทำเลมีความเป็นธุรกิจสูงแต่กลับใช้พื้นที่ดังกล่าวในการส่งเสริมศักยภาพของศิลปินและวงการศิลปะ และเมซงแฟชั่นอย่าง Chanel ที่ยังคงเจตนารมณ์ตั้งแต่ยุคของกาเบรียล ชาเนลที่ค่อยอุ้มชูเพื่อนๆในวงการศิลปะที่ให้แรงบันดาลใจซึ่งกันและกันจนถึงปัจจุบันที่เมซงยังคงสนับสนุนผลงานของอภิชาติพงศ์เสมอมาและผู้สนับสนุนฝ่ายอื่นๆที่ทำให้ Conversation With The Sun ได้จัดแสดงเป็นครั้งแรกในกรุงเทพฯ

บทความอื่นที่น่าสนใจ:

ขึ้นเหนือสู่ ‘เชียงราย’ กับ Chanel ดื่มด่ำกับ Cinema For All พร้อมบรรยากาศงาน Thailand Biennale 2023 อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ที่ให้อิสระกับความคิดตัวเอง
CHANEL สนับสนุนการจัดแสดง A Conversation With The Sun (VR) ของ เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ครั้งแรกในกรุงเทพ

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back to top button
pgslot
pg