ทำความรู้จัก Black Dandyism และธีมของ MET Gala 2025

งานออสการ์ของวงการแฟชั่นได้หวนคืนกลับมาอีกครั้ง และพิเศษกว่าเดิมเมื่องาน Met Gala ปี 2025 นี้มี Dress Code คือ “Tailored for You” และนำเสนอภายใต้ธีม “Superfine: Tailoring Black Style” ซึ่งตรงกับนิทรรศการชื่อเดียวกันของพิพิธภัณฑ์ Metropolitan Museum of Art ซึ่งจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคมถึง 26 ตุลาคม
“Superfine: Tailoring Black Style” ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ Slaves to Fashion: Black Dandyism and the Styling of Black Diasporic Identity ของ Monica L. Miller ที่ตีพิมพ์ในปี 2009 โดย
พิพิธภัณฑ์ Metropolitan Museum of Art นำเสนอนิทรรศการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “ความสำคัญของสไตล์ต่อการก่อตัวของอัตลักษณ์คนผิวดำในอาณานิคมแอตแลนติก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และตีความ “ความเป็นสุภาพบุรุษ” ผ่านเครื่องแต่งกาย งานศิลปะ และสิ่งของอื่นๆ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 จนถึงปัจจุบัน
Cr. พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน
Black dandy คืออะไร และ ‘Dandyism’ คืออะไร?
Dandyism หากแปลเป็นไทยคือ ‘ความเป็นสุภาพบุรุษ’ เป็นลักษณะเด่นที่เน้นในด้านสุนทรียศาสตร์ในภาพลักษณ์ที่แสดงออกมาโดยเฉพาะในกลุ่มคนผิวสี Monica L. Miller ศาสตราจารย์แห่ง Columbia University ซึ่งทำหน้าที่เป็นคิวเรเตอร์รับเชิญของพิพิธภัณฑ์สำหรับนิทรรศการนี้กล่าวอธิบายว่า วัฒนธรรมนี้เริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1700 ในสมัยที่ยังมีการค้าทาสอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ เกิดขึ้นเมื่อเจ้าของทาสเริ่มให้ทาสของตนสวมเสื้อผ้าราคาแพงจากความต้องการที่จะอวดความร่ำรวยและสถานะทางสังคมของตน ทำให้เกิดเป็นเทรนด์ “คนรับใช้ผิวดำที่ดูดี”(dandified black servant)
แน่นอนว่าวัฒนธรรมนี้ถูกพัฒนาโดยกลุ่มชายผิวสี และเริ่มทำให้เครื่องแต่งกายนี้แสดงออกถึงตัวตน เอกลักษณ์ รสนิยมอันสูงศักดิ์ และอำนาจทางการเงินที่เสื้อผ้าจะสื่อออกมาได้ นอกจากมันจะกลายเป็นเทรนด์อย่าง dandyism แล้ว มันยังสะท้อนถึงการต่อต้านข้อจำกัดทางสังคม ณ ขณะนั้น
Cr. Getty Images
Dandyism คือการแต่งตัวของสุภาพบุรุษที่เน้นในงานเทเลอริ่งชุดสูทแบบโททัลลุคที่เนียบ สุภาพและเฉียบคมพร้อมด้วยการใส่ไทไม่ว่าจะเป็น เนคไท หรือ หูกระต่าย และหมวกตามเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล
การจัดธีมในครั้งนี้ของงาน Met Gala นอกจากเป็นการเฉลิมฉลองความสวยงามทางวัฒนธรรมที่แสดงออกมาผ่านเครื่องแต่งกาย มันยังเป็นการตั้งคำถามเกี่ยวกับอัตลักษณ์ และการเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับเชื้อชาติ ชนชั้น เพศ วิถีทางเพศ และอำนาจที่ในสังคมเราเคยผ่านมา และยังเป็นอยู่
Cr. พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน
ประธานร่วม Met Gala 2025
ในการเฉลิมฉลองสไตล์ Black Dandyism ในครั้งนี้ Met Gala 2025 ยังได้ Colman Domingo, Lewis Hamilton, A$AP Rocky และ Pharrell Williams ซึ่งถือเป็นเซเลบริตี้ชายผิวสีผู้มีอิทธิพลในวงการแฟชั่นและความเป็น Dapper จะร่วมเป็นประธานงาน Met Gala 2025 ร่วมกับ LeBron James ประธานกิตติมศักดิ์ แน่นอนว่าคือเป็นเสมือนการไฮไลต์ถึงเอกลักษณ์ที่น่ายกย่องของกลุ่มคนผิวสีในการเป็นผู้นำทางความคิดในโลกแฟชั่น
Cr. Getty Images
เป็นอีกครั้งหนึ่งชนชั้นแรงงานมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงโลกใบใน หากใครว่างานสร้างสรรค์หรืองานศิลปะเป็นเรื่องของคนชนชั้นสูงอาจจะไม่ใช้เรื่องจริง เพราะในหน้าประวัติศาสตร์แฟชั่นของโลกเรา เทรนด์แฟชั่นนั้นเกิดจากชนชั้นแรงงานมานักต่อนักแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มนำ “ผ้ายีน” ในช่วงยุคการตื่นทอง (Gold Rush) ในศตวรรษที่ 18 จากชุดของคนงานเหมือง หรือ “เสื้อไหมพรมขนสัตว์” จากนักเดินเรือและชาวประมงไอริช ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งไอเทมสัญลักษณ์ของคนรวยในปัจจุบัน
บทความที่เกี่ยวข้อง
เตรียมพบกับ Met gala ในธีม ‘Tailored for you’ คู่กับนิทรรศการ ‘Superfine: Tailoring Black Style’
ร่วมค้นหาความทรงจำที่ขาดหายไปกับนิทรรศการ Sometimes I Lost, Sometimes I Found ของศิลปินหญิงชาวไต้หวัน Zito Hsu
Couple Goals ในงาน Met Gala (2014-2024)