Blog

ประเทศไทยเพื่อบังคับใช้กฎการป้องกันผู้โดยสารใหม่สำหรับความล่าช้าเที่ยวบินตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2568

“กบร.” ออกข้อบังคับใหม่ ให้สายการบินชดเชยกรณีเที่ยวบินระหว่างประเทศดีเลย์ เริ่ม 20 พ.ค. นี้

บทความ: Luxuo Thailand ภาพ: คลังสินค้า

การเดินทางทางอากาศจะมีมาตรฐานที่ดีขึ้นสำหรับผู้โดยสารทุกคน เมื่อคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ออกข้อบังคับใหม่ล่าสุด ข้อบังคับ กบร. ฉบับที่ 101 เพื่อยกระดับมาตรฐานและคุ้มครองสิทธิผู้โดยสาร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2568 นี้เป็นต้นไป

ข้อบังคับใหม่นี้มีผลครอบคลุมทุกสายการบินที่ให้บริการ ณ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) ได้แก่ สุวรรณภูมิ, ดอนเมือง, เชียงใหม่, หาดใหญ่, ภูเก็ต และแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ระบุชัดเจนว่า สายการบินต้องรับผิดชอบต่อผู้โดยสารในกรณีที่เที่ยวบินล่าช้า (ดีเลย์) หรือยกเลิก อันเกิดจากความบกพร่องของสายการบินเอง และไม่มีการแจ้งผู้โดยสารล่วงหน้าและผู้โดยสารถึงสนามบินแล้ว

กรณีเที่ยวบินระหว่างประเทศล่าช้าเกิน 2 ชั่วโมง
สายการบินต้องจัดอาหารและเครื่องดื่ม หรือคูปองแลกซื้ออาหารและเครื่องดื่มตามความเหมาะสมกับมื้ออาหารและระยะเวลารอขึ้นเครื่องบิน รวมถึงต้องจัดหาอุปกรณ์และช่องทางในการติดต่อสื่อสาร อาทิ โทรศัพท์ อีเมล โทรสาร ให้แก่ผู้โดยสารโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

กรณีเที่ยวบินระหว่างประเทศล่าช้าเกิน 5 ชั่วโมง
นอกจากสิทธิข้างต้นแล้ว สายการบินจะต้องชดเชยเงินสดให้แก่ผู้โดยสารจำนวน 1,500 บาท หรือเป็นวงเงินเพื่อใช้เดินทางครั้งต่อไป หรือบัตรกำนัลการเดินทาง หรือไมล์สะสม หรือสิ่งอื่นแทนค่าชดเชยดังกล่าว โดยมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าการชำระค่าชดเชยเป็นเงินสด ภายในระยะเวลา 14 วันนับแต่เกิดเหตุเที่ยวบินล่าช้า

หากต้องพักค้างคืน สายการบินต้องจัดหาที่พักและบริการรับส่งให้ครบถ้วน หรือในกรณีที่ผู้โดยสารไม่ประสงค์จะเดินทางต่อ สายการบินต้องเสนอทางเลือกให้ผู้โดยสารเลือกทันทีระหว่างรับเงินคืนเต็มจำนวน หรือรับวงเงินสำหรับการเดินทางครั้งต่อไป หรือรับบัตรกำนัลการเดินทาง หรือรับไมล์สะสม หรือสิ่งอื่นที่มีมูลค่าเทียบเท่า

กรณีเที่ยวบินระหว่างประเทศล่าช้าเกิน 10 ชั่วโมง
สายการบินจะต้องชดเชยเช่นเดียวกับกรณีล่าช้าเกิน 2 และ 5 ชั่วโมง และต้องเสนอทางเลือกให้ผู้โดยสารพิจารณาทันทีว่าประสงค์จะรับค่าชดเชยเป็นเงินสดภายในระยะเวลา14 วันนับแต่วันที่เกิดเหตุเที่ยวบินล่าช้าในจำนวนเงินตามระยะทาง หรือรับค่าชดเชยเป็นวงเงินเพื่อใช้เดินทางครั้งต่อไปหรือบัตรกำนัลหรือบัตรกำนัลการเดินทาง หรือไมล์สะสม หรือสิ่งอื่นแทนค่าชดเชยดังกล่าว โดยมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าการชำระค่าชดเชยเป็นเงินสด ภายในระยะเวลา 14 วันนับแต่เกิดเหตุ

หากต้องพักค้างคืน สายการบินจะต้องชดเชยเช่นเดียวกับกรณีล่าช้าเกิน 5 ชั่วโมง และในกรณีที่ผู้โดยสารไม่ประสงค์เดินทางต่อไป จะมีทางเลือกเพิ่มเติม ได้แก่ สิทธิเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินเพื่อเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางเดิมหรือจุดหมายปลายทางอื่นที่ใกล้เคียง หรือสิทธิขนส่งทางอื่นที่เหมาะสมไปยังจุดหมายปลายทางเดิมหรือจุดหมายปลายทางอื่นที่ใกล้เคียงกัน

อย่างไรก็ตาม มีกรณียกเว้นบางประการที่สายการบินอาจไม่ต้องรับผิดชอบ ได้แก่ เหตุสุดวิสัยทางธรรมชาติ เช่น พายุรุนแรง, ภูเขาไฟระเบิด เหตุความไม่สงบทางการเมืองหรือความมั่นคง ปัญหาด้านความปลอดภัยที่จำเป็นต้องระงับการบินตามคำสั่งของหน่วยงานกำกับดูแล สภาพอากาศเลวร้ายที่ทำให้ไม่สามารถทำการบินได้อย่างปลอดภัย

ข้อบังคับนี้เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการในการยกระดับคุณภาพท่าอากาศยานไทยให้มีมาตรฐานระดับสากล และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักเดินทางทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศไทยมีปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ผู้โดยสารสามารถตรวจสอบสิทธิของตนเองหรือร้องเรียนได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT

บทความที่เกี่ยวข้อง:
เลานจ์สนามบินที่หรูหราที่สุดในโลก: 5 Havens พิเศษสำหรับนักเดินทางชั้นยอด

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back to top button
pgslot
pg