Eight Auspicious Food to Welcome the Chinese New Year
ตรุษจีนทั้งที อย่าพลาดโอกาสตักตวงทุกโชคลาภที่รอคอยเราอยู่ข้างหน้าด้วยอาหารมงคลชนิดต่างๆ เหล่านี้
บทความ: ลภีพันธ์ โชติจินดา ภาพ: iStock
( English )
เทศกาลตรุษจีนหรือปีใหม่จีนในปี ค.ศ. 2025 ตรงกับวันพุธที่ 29 มกราคม นับเป็นหนึ่งในเทศกาลที่มีความสำคัญสำหรับชาวจีนทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ชาวไทยเชื้อสายจีนด้วยเช่นกัน หัวใจสำคัญของเทศกาลนี้ไม่ได้มีเพียงแค่การเฉลิมฉลองการสิ้นสุดของฤดูหนาวและการย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่เป็นเสมือนฤดูแห่งความอุดมสมบูรณ์เนื่องจากสามารถทำการเพาะปลูกหรือการเกษตรได้เท่านั้น หากยังเป็นเทศกาลสำคัญที่เปิดโอกาสให้เครือญาติที่อยู่ห่างไกลกันนั้นได้กลับมาพบปะกับครอบครัวและเฉลิมฉลองกันอย่างมีความสุขด้วย โดยมักจะร่วมกันประกอบอาหาร รับประทานอาหารและสังสรรค์กันอย่างครื้นเครงในคืนก่อนวันปีใหม่นั่นเอง
และแน่นอนว่าอาหารที่ร่วมรับประทานในค่ำคืนก่อนวันปีใหม่นั้นก็มีความสำคัญอยู่ไม่น้อย ความเชื่อในเรื่องของอาหารที่จะส่งผลให้สมาชิกในครอบครัวนั้นมีแต่ความสุข ร่ำรวยมั่งคั่ง เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานและธุรกิจการค้า และมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง อายุยืนยาวตลอดไปก็เป็นสิ่งที่ยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน เนื่องจากอาหารมงคลนั้นมีมากมายและหลากหลายตามความนิยมของแต่ละประเทศ Luxuo Thailand ขอนำเสนออาหารยอดนิยมที่ต้องมีสำหรับมื้อสำคัญช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้สำหรับชาวไทย เพื่อความเป็นสิริมงคล โชคลาภและความสมูบรณ์พูนสุขในทุก ๆ ด้านไปตลอดทั้งปี
ปลานึ่ง – ทรัพย์สินเพิ่มพูน
คำพ้องเสียงในภาษาจีนนั้นมีอิทธิพลมากในเรื่องโชคลางและการสื่อถึงความหมายอันเป็นมงคล แม้แต่ในอาหารก็เช่นกัน ปลา ในภาษาจีนกลางนั้นออกเสียงว่า “หยวี” (yú) ซึ่งพ้องเสียงกับคำภาษาจีนที่มีความหมายว่าเพิ่มพูน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ปลานั้นจะเป็นอาหารจานหลักไม่เฉพาะสำหรับเทศกาลตรุษจีนเท่านั้น หากยังเป็นอาหารที่นิยมในหลายๆ เทศกาลสำคัญของจีนด้วยเช่นกัน โดยเมนูปลานี้จะใช้ปลาอะไรก็ได้ที่ตัวใหญ่และต้องใช้ปลาทั้งตัวและเสิร์ฟทั้งตัวด้วยเช่นกัน ซึ่งเมนูที่คุ้นเคยกันส่วนมากก็จะเป็น ปลานึ่งซิอิ้ว นึ่งบ๊วย หรือนึ่งมะนาว หากจะประยุกต์ให้เป็นแบบฉบับไทยอาจจะเป็นปลาทอดราดพริก ทอดน้ำปลาเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมปฏิบัติในการรับประทานปลาอยู่สองแบบคือเลือกที่จะทำหรือสั่งปลามาสองที่โดยไม่แตะต้องปลาจานที่สองเลย หรือรับประทานให้เหลือส่วนหัวและส่วนหางไว้ เพื่อสื่อความหมายว่ามีเหลือกินเหลือใช้ตลอดไป
เกี๊ยว – ความมั่งคั่ง
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าเทศกาลนี้มีความสำคัญในเรื่องของการนำพาครอบครัวกลับมาพบปะและสังสรรค์กัน ร่วมมือร่วมใจกันหุงหาอาหารก็เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีและรักใคร่กลมเกลียว ชาวจีนโดยเฉพาะทางเหนือนิยมกินเกี๊ยวในเทศกาลตรุษจีนและเทศกาลสำคัญๆ เพราะเกี๊ยวจีนนั้นมีรูปร่างคล้ายเงินและทองก้อนในอดีตของจีน ดังนั้นการรับประทานเกี๊ยวสำหรับเทศกาลตรุษจีนนั้นสื่อถือความมั่งคั่ง ร่ำรวย ยิ่งทำเกี๊ยวให้มากและกินให้เหลือ ก็จะหมายถึงเงินทองมากมายเหลือเฟือ อีกทั้งเกี๊ยวในภาษาจีนกลางนั้นออกเสียงว่า “เจี่ยวจึ” (jiǎo zi) ซึ่งคำว่า “เจี่ยว” นั้นพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายว่าเปลี่ยนหรือแลกเปลี่ยน ดังนั้นความหมายของการกินเกี๊ยวนั้นก็เปรียบเสมือนการเปลี่ยนจากปีเก่าเข้าสู่ปีใหม่ด้วย ซึ่งเกี๊ยวนั้นมีหลากหลายไส้ สามารถทำไส้จากเนื้อสัตว์ที่เป็นมงคลอย่างกุ้ง หมู หรือเนื้อก็ได้ หรือจะเป็นไส้ผักอย่างกะหล่ำปลีหรือหน่อไม้ก็ได้เช่นกัน สามารถเลือกที่จะรับประทานเป็นเกี๊ยวนึ่ง เกี๊ยวต้ม หรือเกี๊ยวทอดก็ได้เช่นกัน
ไก่ – ความสมัครสมานสามัคคีของคนในครอบครัว
ไก่นั้นเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความเป็นหนึ่งเดียวกันและความสมัครสมานสามัคคีของครอบครัว
เช่นเดียวกันกับปลา ไก่และเป็ดนั้นนิยมเสิร์ฟทั้งตัวรวมถึงหัวและเท้า การปรุงที่นิยมสำหรับไก่คือการนำไก่ไปต้มทั้งตัว
ซึ่งแต่ละส่วนของไก่นั้นก็มีความหมายที่แตกต่างกันไปตามความเชื่อในบางมณฑลของจีน
เช่นในมณฑลหูเป่ยของจีนจะรับประทานซุปไก่เป็นมื้อแรกของวันปีใหม่จีน หัวหน้าครอบครัวหรือเสาหลักของบ้านจะได้รับประทานขาไก่ซึ่งเปรียบเสมือนกรงเล็บของนกฟีนิกซ์
(fèng
zhuǎ) ที่จะหยิบจับเอาโชคเอาลาภให้แก่ครอบครัว
หรือการรับประทานปีกไก่ก็เหมือนการได้รับพรให้ได้รับยศที่สูงขึ้นหรือเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
เป็ด – ความซื่อสัตย์ ความสามารถในหน้าที่การงาน และความอุดมสมบูรณ์
เป็ดนั้นเป็นอาหารอีกหนึ่งชนิดที่นิยมรับประทานกันในช่วงเทศกาลตรุษจีน
และเช่นเดียวกันกับไก่และปลาที่จะต้องเสิร์ฟทั้งตัวรวมถึงหัวและเท้า
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงความอุดมสมบูรณ์ เป็ดยังเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์
จริงใจ และความสามารถที่หลากหลายในหน้าที่การงานอีกด้วย
สำหรับการปรุงไม่ได้มีเพียงแค่เป็ดพะโล้เท่านั้น ยังมีเมนูยอดนิยมอย่างเป็ดปักกิ่ง
หนังย่างสีแดงเข้มกรอบๆ รับประทานคู่กับผักเคียงและแป้งบางก็อร่อยไม่แพ้กัน
หรือจะปรุงเป็นเป็ดตุ๋นต่างๆ ก็อร่อยไม่แพ้กัน
บะหมี่ – ความสุขและอายุที่ยืนยาว
ความหมายของการรับประทานบะหมี่สำหรับชาวจีนนั้นหมายถึงการมีความสุขและอายุที่ยืนยาว
แน่นอนว่าความหมายนี้สามารถใช้ได้ในโอกาสอย่างวันเกิดและในเทศกาลสำคัญอย่างตรุษจีนด้วยเช่นกัน
การรับประทานบะหมี่ในเทศกาลตรุษจีนนี้จะนำไปปรุงด้วยวิธีใดก็ได้
ไม่ว่าจะเป็นบะหมี่น้ำ หรือที่นิยมกันมากคือบะหมี่ผัด ซึ่งมีกฎอยู่ว่าเวลานำไปปรุงจะต้องไม่ตัดบะหมี่เลยแม้แต่น้อย
อีกทั้งเวลารับประทานก็ไม่ควรกัดเส้นบะหมี่ขาดเช่นกัน
ยิ่งเส้นบะหมี่ยาวมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งหมายถึงชีวิตที่ยืนยาวยิ่งขึ้นเท่านั้น โดยการปรุงนั้นจะใส่เกี๊ยวที่มีความหมายถึงความมั่งคั่งสำหรับบะหมี่น้ำก็ได้
หรือจะปรุงกับเนื้อสัตว์หรือผักที่มีความหมายเป็นมงคลอย่างกุ้ง ปลา เป็ด หอยเชลล์
เป็นต้น ในบะหมี่ผัดก็ได้เช่นกัน
ขนมเข่ง – ความเจริญรุ่งเรืองในตำแหน่งหน้าที่การงาน
เค้กข้าว (Rice cake) ที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวที่ชาวจีนเรียกว่า “เหนียนเกา” (Niángāo) หรือขนมเข่งที่เรารู้จักกันนั่นเอง ซึ่งขนมเข่งมีคำพ้องเสียงในภาษาจีนกลางกับคำว่า “เหนียน” ( Nián) หมายถึงปี “เกา” (gāo) ซึ่งหมายถึงสูง รวมกันหมายถึงสูงขึ้นทุกปี อันหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน การเลื่อนขั้นหรือตำแหน่งที่สูงขึ้น ซึ่งนั่นจะหมายถึงความมั่นคงในชีวิตนั่นเอง เค้กข้าวของชาวจีนนั้นมีทั้งแบบของคาวซึ่งจะว่าไปมีความคล้ายแป้งต๊อกของชาวเกาหลี ซึ่งจะต้องนำไปนึ่งหรือต้มแล้วปรุงกับผักหรือเนื้อสัตว์ตามที่ต้องการ หรือจะเป็นแบบของหวานที่จะเหมือนขนมเข่งที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ซึ่งจะรับประทานเลยหรือจะนำไปทอดก็อร่อยไม่แพ้กัน
บัวลอย – ความรักความผูกพันของคนในครอบครัว
ขนมบัวลอยที่มักจะรับประทานกันในวันสุดท้ายของเทศกาลตรุษจีน เหตุผลที่บัวลอยนั้นเป็นขนมพิเศษสำหรับเทศกาลตรุษจีนนี้ก็เพราะชื่อของขนมในภาษาจีนกลางว่า “ถวนหยวน” (Túan yuan) นั้นมีความหมายว่าการอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน มิตรภาพและความผูกพันของครอบครัวนั่นเอง ขนมบัวลอยนั้นก็มีหลากหลายรูปแบบ รูปแบบที่เราคุ้นเคยจะมีไส้อย่างบัวลอยน้ำขิงที่ไส้ด้านในเป็นงาดำ หรือจะเป็นไส้ถั่วแดงบด หรือแม้แต่ไส้พุทราบดก็ตาม หรืออาจจะเป็นเพียงบัวลอยไม่มีไส้ก็ได้ ในบางมณฑลของประเทศจีนก็นิยมรับประทานบัวลอยแบบของคาวที่มีไส้เป็นเนื้อสัตว์และผัก
ผลไม้มงคล – ความอุดมสมบูรณ์
ผลไม้ที่เป็นที่นิยมสำหรับเทศกาลตรุษจีนนั้นคงจะขาดส้มไปไม่ได้ ไม่เพียงสีสันของส้มที่เปรียบเสมือนสีเหลืองทองอันเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งและร่ำรวยแล้ว ความกลมของส้มก็ยังหมายถึงความกลมเกลียวของคนในครอบครัวด้วยเช่นกัน นอกจากนี้คำพ้องเสียงของส้มในภาษาจีนกลางคือ “เฉิง” (chéng) ซึ่งหมายถึงความสำเร็จ และอีกหนึ่งเสียงที่มีความหมายถึง “จูจึ” (júzi) ที่หมายถึงโชคดีด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ก็ยังมีผลไม้อีกมากมายที่ต่างก็มีความหมายที่สื่อถึงความเป็นสิริมงคลด้วยเช่นกัน อาทิ ส้มโอก็มีความหมายถึงสุขภาพที่ดีและความมั่งคั่งอย่างต่อเนื่อง สับปะรดจะหมายถึงโชคดี กล้วยหมายถึงโชคดีในเรื่องการเรียนการศึกษา แอปเปิ้ลหมายถึงการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข องุ่นหมายถึงความมั่งมี เป็นต้น
Don’t miss your chance to maximise fortunes this Lunar New Year.
Words: Lapheepun Chotjinda
The Lunar New Year is one of the most important
festivals for people of Chinese ancestry around the world. This of course
includes many Thais of Chinese descent. Taking place this year on Saturday,
January 25, the festival is a celebration of the end of winter and the start of
spring, noted as an important season for cultivation and agriculture. The event
is marked with relatives returning home to meet and celebrate with family
members, and of course the ubiquitous cooking and feasting that happens on the
eve of the new year.
The food selected for Chinese New Year’s Eve are carefully
chosen for their special symbolisms. Many of the dishes have long been believed
to bring happiness, wealth, luck in business, good health and longevity. As
the auspicious foods differ according to regions, Luxuo Thailand presents
some of the most popular dishes that have become staples of the Lunar New Year
table for the people of Thailand. Each of these selections are sure to
bring prosperity, fortune and happiness in all areas of your life
throughout the year.
Steamed Fish – Increasing Assets
In Chinese culture, the sound of words takes on symbolic and auspicious meanings. For example, fish in Mandarin is produced “yú”, and sounds similar to the Chinese word for “increasing”. It is therefore not surprising that fish has become a popular main course not just during Chinese New Year, but many other important Chinese festivals. Any large fish can be used, but it must be served whole. They are often steamed in soy sauce, sour plum sauce or lime. In Thailand, fish is not only steamed but often fried and topped with chilis, fish sauce or other local herbs. There are two different ways to traditionally enjoy fish during this festive period. One is to order or cook two fishes, eating only one of them without touching the second fish. The other method is to eat only the fish’s body, leaving the head and tail. Both these methods symbolise having a surplus left over to consume.
Dumplings – Wealth
As mentioned before, this festival is an important social event that brings families together. Cooperating in cooking this large feast is one of the many activities that create unity and harmony, and this is most apparent in the making of fresh dumplings. For the Northern Chinese, dumplings are a particularly important part of this festival, as they are shaped like old Chinese gold and silver ingots. Eating dumplings therefore symbolise the gathering of riches, and one is encouraged to eat plenty of dumplings while also leaving plenty of them to show that they have lots of wealth to spare. The Mandarin word for dumpling (jiǎo zi) is similar to the word for change or exchange, and therefore dumplings also take on the symbolism of changing from the past year to the next. Dumplings can be made of different auspicious meats like pork, shrimp and beef. They can also be filled with vegetables like cabbage and bamboo shoots and then boiled, steamed or fried.
Chicken – Family Unity and Solidarity
The chicken is a symbol of unity and solidarity within the family. As with fish and duck, chicken is served whole with its head and feet intact. It is usually boiled, with each part of the chicken having a special meaning. For example, according to a belief in the Hubei province, chicken soup should be the first meal of the new year. The head of the family will often eat the chicken’s legs and feet, which are symbolic of claws of the phoenix (fèng zhuǎ) in order to bring good fortune to the family. Eating the wings are believed to bless you with a higher rank or progress in your career.
Duck – Honesty, Potential and Abundance
Another popular main dish, Duck is served whole with the feet and head similar to the other auspicious dishes. In Chinese culture, Ducks symbolise fertility, honesty, sincerity and the ability to accomplish duties at work. This is also a versatile dish, as duck can be served stewed in soy sauce or roasted as a Peking Duck with crispy red skin. This dish is usually eaten with vegetables, flour crepes, or cooked into stews.
Noodles – Happiness and Longevity
The Chinese believe that noodles represent both happiness and longevity. Due to this symbolism they are also enjoyed regularly on birthdays and other important events. During the Chinese New Year, noodles are prepared in a special way. Whether they are boiled in a soup or fried, a general belief is to not cut the noodles. Even when dining, one is expected to not bite the noodles in anyway that will shorten them, as longer noodles indicate a longer life. Dumplings make a great accompaniment here, as together they add wealth to your long life. Noodles are also paired with meats and vegetables with other auspicious meanings such as shrimp, fish, duck, and scallops.
Glutinous Rice Cake – Prosperity in Work
Cakes made from glutinous rice flour (niángāo) or “Khanom Kheng” in Thai are also a popular treat. The word “niánin” Mandarin sounds like the word for “year” while “gāo” sounds like the word for “higher”, together they can mean to reach a higher point every year. It is alluded that the cakes therefore mean continuous promotions or greater security in life. The Chinese Rice Cakes come in both savoury and sweet types. The savoury type is similar to a Korean rice cake, which must be steamed and boiled before being cooked with vegetables and meat. The sweet variety looks like the Khanom Kheng in leaf baskets we see in Thailand. The cakes are tasty eaten straight away or fried.
Glutinous Rice Balls – Love and Togetherness Amongst Family
Glutinous Rice Balls, known in Thai as “Bua Loy” is eaten on the last day of the Lunar New Year. The reason for this is because the glutinous rice balls (túan yuan) means “being together” and therefore symbolises the bonds of friendship and family. Bua Loy can come in many forms, in Thailand they are typically served in ginger syrup and stuffed with black sesame, red bean or jujube. Some are enjoyed without any fillings at all. In certain provinces of China, these glutinous rice balls are eaten in savoury dishes with meat and vegetable stuffing.
Fruit – Abundance
Fruits are indispensable during Chinese New Year. One of the most popular of these is the orange, with its bright colour it symbolises wealth and riches. The roundness of oranges also indicates harmony of family. In addition, the Chinese word for orange (chéng) means success. Another way to write the word for orange (júzi) means good luck. Many other auspicious fruits can be found at the Chinese table. These include the grapefruit that symbolises continued health and wealth, pineapples for good luck, bananas for luck in education, apples for happiness in living together and grapes for prosperity.