Blog

DIOR GOLD HOUSE อาณาจักรแห่งความฝันสีทองใจกลางกรุงเทพฯ – L’Officiel Thailand

ณ ตอนนี้ ถ้าจะบอกว่าถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงเทพฯ ก็คงไม่เกินจริงแต่อย่างใด เพราะเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา  Dior แฟชั่นเฮาส์ระดับโลกยังริเริ่มโปรเจ็กต์ใหม่ขึ้นที่นี่ นั่นก็คือ Dior Gold House คอนเซ็ปต์สโตร์ใหมล่าสุดที่ไม่เคยสร้างที่ไหนมาก่อน โดยเป็นรวมเอาบูติกแฟชั่น แอ็กเซสเซอรี่ คาเฟ่ รวมถึงสเปซของงานศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของไทยและนานานานาชาติเข้าไว้ด้วยกันในที่เดียว

ตัวอาคารสีทองหลังนี้ตั้งอยู่บนถนนเพลินจิต ท่ามกลางทัศนยภาพของต้นไม่และสวนสีเขียว ฟาซาดสีทองด้านนอกของอาคารซึ่งสูงถึง  15 เมตรนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากฟาซาดของบูติกแห่งแรกของดิออร์ซึ่งตั้งอยู่ ณ อาคารเลขที่ 30 ถนนมงแตญ ในกรุงปารีส และถ้ามองจากมุมบน จะเห็นหลังคาซึ่งเจาะเป็นรูปดวงดาวขนาดยักษ์ให้แสงส่องเข้าไปด้านในของอาคาร

ส่วนพื้นที่ด้านในซึ่งมีขนาเ 1,000 ตารางเมตรนั้นตั้งใจให้ผู้ที่มาเยือนได้ดื่มด่ำกับจักรงวาลของดิออร์  ทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยการออกแบบ Maria Grazia Chiuri ไปจนถึงเครื่องแต่งกายชายโดย Kim Jones รวมถึงคอลเลกชั่นเครื่องหนังอย่าง รองเท้า, เข็มขัด และกระเป๋า, เครื่องประดับ ตลอดจนของตกแต่งบ้าน และชิ้นงานสุดพิเศษที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อที่นี่โดยเฉพาะ ทั้ง  Saddle Bag ผ้าเดนิม ปักประดับลวดลายโมทีฟดอกไม้ เรื่อยไปจนถึงกระเป๋า Lady Dior

และสิ่งที่ทำให้ที่นี่มีความพิเศษไม่เหมือนกับเดสติเนชั่นไหนๆ ก็คือความพิถีพิถันในการออกแบบตกแต่ง ทั้งวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่, งานไม้ และราฟเฟีย ร่วมกับบรรดาสัญลักษณ์ประจำ House of Dior ตั้งแต่ดวงดาวนำโชคไปจนถึงผ้าพิมพ์ลายจิตรกรรมสีเดี่ยว tole de Jouy รวมถึงลายพิมพ์แผนที่ปารีสหรือ Plan de Paris นอกจากนี้ ยังผสมผสานเข้ากับผลงานศิลปะร่วมสมัย ซึ่งถือเป็นการสืบสานความหลงใหลของเมอซิเออร์ คริสเตียน ดิออร์ ซึ่งเคยทำงานเป็นแกลเลอลิสต์ก่อนหันมาก่อตั้งแฟชั่นเฮาส์ในชื่อของตัวเองในปี 1946

ผลงานศิลปะที่เห็นนี้เป็นฝีมือของศิลปินไทย 9 ท่าน ได้แก่  กรกต อารมย์ดี, วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์, ศรัณย์ เย็นปัญญาจาก “สตูดิโอ 56” (56th Studio), รัฐ เปลี่ยนสุข กับฟิลิปป์ มัวสันจาก “สัมผัสแกลเลอรี” (Sumphat Gallery), บุญเสริม เปรมธาดา, วาสนา สายมา และเอกรัตน์ วงษ์จริต พวกเขาล้วนนำมุมมองและความเชี่ยวชาญของตนมาใช้ตีความอัตลักษณ์ความเป็นดิออร์จนก่อให้เกิดผลงานอัศจรรย์ใจ

ยกตัวอย่างเช่น Tuk Tuk the New Look งานศิลป์รถตุ๊กตุ๊ก สัญลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งตั้งอยู่กลางสวนและถูก ศรัณย์ เย็นปัญญา นำมาตีความใหม่ด้วยเทคนิคจักสาน โดยได้ไอเดียมาจากแนวคิดในการพลิกโฉมแฟชั่นสร้างสรรค์ชุดนิวลุคของดิออร์  เก้าอี้ Nirvana d’Oro สีน้ำเงินแต่งโมเสกซึ่งตั้งอยู่ในห้องเรดี้ทูแวร์ของผู้หญิง ซึ่งทาง เอกรัตน์ วงษ์จริต ได้แรงบันดาลใจมาจากกระจกเกรียบสีพื้นบ้านไทยมาร้อยปูลายแบบโมเสก  และที่น่าจะโดนใจสาวๆ เป็นพิเศษก็เห็นจะเป็นคอลเลกชั่นกระเป๋า Lady Dior สานไม้ไผ่ที่ตกแต่งอยู่บนผนัง ซึ่งสาวิน สายมา ผู้ก่อตั้งแบรนด์จักสาน Vassana ได้แรงบันดาลใจมาจากดอกไม้ผสานเข้ากับงานจักสานไม้ไผ่

อีกหนึ่งที่สร้างความตื่นเต้าตื่นใจก็คือ  Dior Cafe นอกจากเราจะได้ลิ้รมของหวานและเครื่องื่มจากการสร้างสรรค์ของเชฟ มิชลินสามดาว มอโร โกลาเกรโก แล้ว การได้นั่งเพลินๆ ชมงานตกแต่งภายในก็สร้างคงวามอัศจรรย์ใจได้ เนื่องจากผนังห้องตกแต่งด้วยงานจักสานลายดอกไม้ ใบไม้ และวิหคน้อยในชื่อ  Garden of Happinessผลงานการสร้างสรรค์ของ ศิลปิน กรกต อารมย์ดี ซึ่งมองเห็นความเชื่อมโยงของศิลปะจักสานในฐานะวัฒนธรรมร่วมระหว่างไทยกับตะวันตก

บทความอื่นที่น่าสนใจ:

ย้อนอดีตสู่ปี 1955 ในคอลเลกชั่น Dior Cruise 2025

กว่าจะเป็นจิวเวลรี่ My Dior ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากลวดลายเอกลักษณ์ ‘คานนาจ’

Pretty Yende กับหนังสือเล่มโปรดใน The Dior Book Tote Club

Dior Spring/Summer 2025 : จินตนาการของศิลปินกรีกยุคโบราณของเทพอาร์ทิมิส

Related Articles

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Back to top button